วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหารายวิชาที่จัดการสอนเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม

นายธเนศ คูณทวี ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต(บริหารการศึกษา)


ศูนย์การเรียนโรงเรียนศรีปทุมอุบลราชธานี

เลขประจำตัวนักศึกษา 525315994



นวัตกรรม และระบบสารสนเทศองค์การ

เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม

ž เทคโนโลยีการศึกษา

• เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน

ž ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

• ทำให้มีการเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น

• สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้

• สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์

• ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษา

• ทำให้การเรียนอยู่แค่เอื้อม นำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

• ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

ž นวัตกรรมการศึกษา

• ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทดลองจนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ในการส่งเสริม ปรับปรุง ระบบและกระบวนการทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม

• เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเอง

• การพิสูจน์ด้วยการวิจัย การทดลองใช้มาก่อน

• นำวิธีระบบมาใช้ชัดเจน

• ความคิดหรือกระทำใหม่ๆ

ž ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน

• ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากขึ้น

• สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

• ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น

• มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

• ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว

• ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Data Communication and Computer Network)

การสื่อสาร เป็นกระบวนการสำหรับถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือสารสนเทศระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยทั่วไปใช้ระบบสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ท่าทาง ภาษามือ ตัวอักษร ตัวหนังสือ หรือภาษาต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารมาตั้งแต่อดีตที่ใช้ควันไฟ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่มีการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และดาวเทียม

การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลาง (Transmission Media) ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล

เทคโนโลยีการสื่อสาร

การทำให้เกิดการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เกิดระบบธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ คือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ระบบโทรคมนาคม

การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงก่อนการโทรคมนาคมมีขีดจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารโดยเป็นเสียงคนผ่านสายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเชื่อกันว่าการพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมได้มาถึงช่วงกลาง โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่ว

ชนิดของสัญญาณ

สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์เป็นต้น

สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน และติดต่อสื่อสารกัน

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น

2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับได้ ทั้งสองทิศทาง โดยผลัดกันส่ง เช่นวิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

สามารถแบ่งเป็นแบบมีสายสัญญาณและไร้สายสัญญาณคือ wired และ Wireless

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถทําการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้

อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล

HARDWARE

1. NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ด ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร

2. HUB เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการต่อสายLAN แบบ UTP มี PORT เป็น 8,16 ,24

3. Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายจะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณเช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้

4. Switching Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ

5. Router เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับบริดจ์แต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยสามารถจัดหาเส้นทางข้อมูล เพื่อส่งไปยังสถานีปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยปัจจุบันมีการรวมหน้าที่การทำงานของ Gateway ไว้ในRouter

SOFTWARE

ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายเรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s Netware OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, Apple share, Unix ,Linux etc.















แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (Information Systems Conceptual)

ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูลเกิดจาก Raw Facts สารสนเทศเกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลทีผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศคือการประมวลผล (process)

ระบบและระบบสารสนเทศ

ระบบ คือ หน่วยงานหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อน เข้าด้วยกันหรือชุดขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของความสัมพันธ์ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันไปเพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน

ระบบสารสนเทศ คือ ระบบการจัดการสารสนเทศที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการ ด้านการจัดการ การค้นคืน การรวบรวมการประมวลผลและแสดงผล ตลอดจนการเผยแพร่ และแสดงผลเป็นสารสนเทศ ซึ่งเป็นผลผลิตของระบบซึ่งมีเป้าหมาย ได้แก่ การผลิตสารสนเทศที่เหมาะสมจากข้อมูลที่นำเข้าระบบ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุมภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการดำเนินการธุรกิจขององค์กร และหาข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

เป้าหมายของระบบสารสนเทศ

• เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

• กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในองค์กรเพิ่มขึ้น ได้เปรียบในการแข่งขันทางการผลิต

• เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ

• ผลิตสิ่งใหม่

• การสร้างโอกาสทางธุรกิจ

• ดึงดูดลูกผ้า ผู้ที่สนใจ

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา (Information Technology for Education)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

• เป็นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เป็นเครื่องช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้นำเสนอ ผู้เรียนสามารถปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้

• โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงมักเรียกกันว่า Courseware

โครงสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การออกแบบวิธีการเรียนการสอน (Instructional Design) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ

1. การนำเสนอเนื้อหา (Presentation) การนำเสนอเนื้อหา บทเรียน นำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย ประกอบด้วย ภาพ (visual)+เสียง (audio) ซึ่งสามารถนำเสนอได้ 6 รูปแบบ

1. รูปแบบการสอนหรือแบบทบทวน (Tutorial instruction)

2. รูปแบบการฝึกหัด (Drills and practice)

3. รูปแบบและสถานการจำลอง (Simulation)

4. รูปแบบเกมเพื่อการสอน (Instruction games)

5. การทดสอบ (Testing)

6. การสาธิต (Demonstration)

2. การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (Interactive) เป็นหลักการของการสื่อสารแบบสองทาง คือ หลังจากเนื้อหาจบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น จัดเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปธรรมคือแบบทดสอบ

3. การประเมินผลการเรียน (Evaluation)คำตอบของคำถามแต่ละบทเรียนจะถูกรวบรวมและนำไปคำนวณเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้หรือเพื่อหาผลการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ สมควรเรียนในระดับใดต่อไป

สื่อประสม

สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหานักเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งสื่อตามความหมายได้ 2 กลุ่ม

1. เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่นวีดีทัศน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์มาประกอบการบรรยาย

2. ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการนำเสนอสารสนเทศหรือการผลิต เพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ





ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญคือ

1. ภาพนิ่ง

2. ภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว หรือ Animation

3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ใช้เทคนิคการบีบอัด รูปแบบภาพคือ QuickTime, AVI และ MPEG

4. เสียง ที่นิยมมี 2 แบบ คือ Waveform (WAV) และ Musical Instrument Digital Interface (MIDI)

5. ส่วนต่อประสาน เมื่อมีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ นำมารวบรวบรวมเป็นแฟ้ม ข้อมูลด้วยโปรแกรมสร้างสื่อประสม

วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์

ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

1. เครือข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณจากผู้ร่วมประชุมแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน

2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Terminal) เป็นอุปกรณ์ต้นทางและปลายทางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดภาพและเสียงได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพ กล้องวีดีทัศน์ ไมโครโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ห้องสมุดเสมือน

ห้องสมุดเสมือนเป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมผสมผสานกับการจัดการฐานข้อมูลจากแหล่ง ต่าง ๆ ทั้งข้อมูลจากห้องสมุดและข้อมูล จากแหล่งความรู้อื่น ๆ เป็นเสมือนประตูเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลห้องสมุดทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานทีในการจัดเก็บ แบ่งออกได้ 3 ระดับ

1. ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การใช้ห้องสมุดอัตโนมัติ คือ OPAC (Online Public Access Catalog) ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จากหน้าจอ OPAC

2. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการนำส่งเอกสารที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ โดยผู้ใช้อาศัยหน้าจอ OPAC และจากเครือข่ายห้องสมุดซึ่งสามารถแปลงผลลัพธ์ที่ได้ ส่งผ่านไปยังสื่อข้างต้น

3. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นห้องสมุดที่ปราศจากหนังสือ โดยสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม













เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษาสมัยใหม่

การจัดการเรียนการสอนบนเว็บ

การนำเสนอผลงานได้ 2 รูปแบบใหญ่

1. การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอน บนเว็บ (Web Based Learning)

2. การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์ (e-learning)

การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอน บนเว็บ

• อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้โปรโตคอล ของอินเตอร์เน็ต (TCP/IP, HTTPS) เป็นหลักในการถ่ายโอนข้อมูล เป็นการประยุกต์ใช้ Hyper media เข้ากับ Internet เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

• ขจัดปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ

• สร้างมาตรฐานเนื้อหาการเรียนรู้

• สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

• เปิดช่องทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal learning)

• การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต (Lifelong learning)

การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์

การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์ (e-learning) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือผ่าน CD-ROM หรือ สัญญาณโทรศัพท์ ดาวเทียม รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราวและเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ได้

ลักษณะของบทเรียนออนไลน์

1. Real-time การพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันหรือ chat room

2. Non real-time, email, webboard, News-group

อินเตอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง

เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณภาพเสียง ผ่านเครือข่ายทาง Internet หรือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลจำนวนมากของภาพเสียงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่าย Internet ด้วยการบีบอัดสัญญาณ ชื่อที่คล้ายๆ ทำงานในทำนองเดียวกันคือ Cybercasting, Netcasting, Webcasting, Unicasting





นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)

ความหมายของนวัตกรรม

ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา

การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา

ขอบข่ายของนวัตกรรม

วิธีการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการออกแบบหลักสูตรให้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการวัดผลแบบใหม่ ดังนี้

1. การจัดการการเรื่องการสอยด้วยวิธีการใหม่ ๆ

2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน

3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง

5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ

6. การจัดการด้านวัดผลแบบใหม่ ๆ

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันทีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ คือ

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)

1. การเรียนแบบไมแบ่งชั้น (Non-Graded School)

2. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

3. เครื่องสอน (Teaching Machine)

4. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)

5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)



2. ความพร้อม (Readiness)

1. ศูนย์การเรียน (Learning Center)

2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

3. การปรับปรุงการสอน 3 ระยะ (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling)

1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

4. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)

4. ประสิทธิภาพในการเรียน (Learning Performance)

1. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

2. การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ (Learning via radio or TV)

3. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)

4. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

5. ชุดการเรียน (Learning Toolkits)

การจัดการนวัตกรรมการศึกษา

1. e-learning

2. ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)

3. การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

4. การจัดกาเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

5. มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน

6. สื่อหลายมิติ (Hypermedia)

เรื่องที่สนใจ

สูตรนี้ต้องอย่าลืมว่า ก่อนรับประทานอาหารต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว งดน้ำตาล ของมัน และของทอดอย่างเด็ดขาด


มาเริ่มกันเลย อย่ารอช้า...

วันที่ 1

เช้า : น้ำผลไม้คั้น หรือ โยเกิร์ต 1 ถ้วย

กลางวัน : ไข่ต้ม 2 ฟอง

เย็น : สลัดผัก

วันที่ 2

เช้า : น้ำผลไม้คั้น หรือ โยเกิร์ต 1 ถ้วย

กลางวัน : ไข่ต้ม 2 ฟอง

เย็น : สลัดผัก

วันที่ 3

เช้า : กาแฟไม่ใส่น้ำตาล หรือ โยเกิร์ต 1 ถ้วย

กลางวัน : เกาเหลาลูกชิ้น 1 ชาม (หมู, เนื้อ )

เย็น : สลัดผัก

วันที่ 4

เช้า : น้ำผลไม้คั้น หรือกาแฟดำและขนมปัง 1 แผ่น

กลางวัน : สลัดผัก และไก่ย่าง 1 ชิ้น

เย็น : โยเกิร์ต 1 ถ้วย

วันที่ 5

เช้า : น้ำผลไม้คั้น หรือ กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย

กลางวัน : ส้มตำ และไก่ย่าง 1 ชิ้น

เย็น : สลัดผัก

วันที่ 6

เช้า : น้ำผลไม้คั้น หรือ กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย

กลางวัน : ปลานึ่ง หรือ ปลาเผา ไม่จำกัด

เย็น : สลัดผัก

วันที่ 7

เช้า : ข้าว 1 ทัพพี และเนื้อ 1 ชิ้นหรือไข่ต้ม 1 ฟอง

กลางวัน : เกาเหลาลูกชิ้น 1 ชาม (หมู, เนื้อ)

เย็น : สับปะรด 1 ชิ้น

เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น... แต่น้ำหนักจะลดลงถึง 9 กิโลตามสูตรนั้น ขึ้นกับสภาพของร่างกายและพฤติกรรมของแต่ละคน ถ้าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาน้ำหนักจะลดลงประมาณ 3-5 กิโล เนื่องจากกิจกรรมที่เป็นอยู่ในแต่ละวันไม่ค่อยได้ใช้พลังงานอะไรมาก



แต่ตอนนี้ขอแบ่งปันสูตรให้ไว้ก่อน แล้วได้ผลอย่างไรมาบอกกันบ้างนะคะ





ลดน้ำหนัก 9 กก. ภายใน 1 สัปดาห์ ( หนังจาก 7 วัน ทานได้ตามปกติน้ำหนักไม่ขึ้น หากทำตามสูตรและทานน้ำเปล่าเยอะๆ ) ก่อนการเริ่มปฏิบัติสูตรนี้ ก่อนอ่าหารต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว งดน้ำตาล น้ำมันหมู และของทอดทุกชนิด

วันที่ เช้า กลางวัน เย็น

1. น้ำผลไม่คั้นหรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย ไข่ต้ม 2 ฟอง สลัดผัก

2. น้ำผลไม้คั้นหรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย ไข่ต้ม 2 ฟอง โยเกิร์ต 1 ถ้วย

3. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย หรือ โยเกิร์ต 1 ถ้วย เกาเหลาลูกชิ้นหมู 1 ชาม ( หมู เนื้อ ) สับปะรด 1 ชิ้น

4. น้ำผลไม้คั้นหรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาลและขนมปัง 1 แผ่น สลัดผักและไก่ย่าง 1 ชิ้น โยเกิร์ต 1 ถ้วย

5. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วยหรือน้ำผลไม้คั้น ส้มตำและไก่ย่าง 1 ชิ้น สลัดผัก

6. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย หรือน้ำผลไม้คั้น ปลานึ่งหรือปลาเผาไม่จำกัด ( กินแต่เนื้อปลาอย่างเดียว ) นมสด 1 แก้ว ( นมจืด )

7. ข้าว 1 ทัพพีและเนื้อ 1 ชิ้น หรือไข่ต้ม 1 ฟอง เกาเหลาลูกชิ้น 1 ชาม ( หมู เนื้อ ) สับปะรด 1 ชิ้น

ประวัติส่วนตัว



ข้อมูลทั่วไป

๑. ชื่อผู้รับการประเมิน นายธเนศ คูณทวี

๒. วันเดือนปีเกิด วันเสาร์ ที่ ๓๐ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐

ภูมิลำเนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

๓. คุณวุฒิทางการศึกษา

- พ.ศ. ๒๕๓๓ ระดับ ประถมศึกษา จากโรงเรียนอนุบาลกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

- พ.ศ. ๒๕๓๖ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

- พ.ศ. ๒๕๓๙ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

- พ.ศ. ๒๕๔๔ ระดับ ปริญญาตรี หลักสูตร ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา การศึกษา

โปรแกรมวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีลพบุรี

- ปัจจุบันศึกษาระดับ ปริญญาโท หลักสูตร ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

๔. ตำแหน่งปัจจุบัน ครูผู้ช่วย เลขที่ตำแหน่ง ๒๗๗๖๔-๒ ( ถ )

ได้รับเงินเดือนตำแหน่งครูผู้ช่วย ขั้น อัตรา ๘,๑๓๐ บาท

สถานศึกษา โรงเรียนโนนกลางวิทยาคม ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสารหาร จังหวัดอุบลราชธานี

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

๕. เริ่มเข้ารับราชการ วันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อุบลราชธานี ที่ ๑๓๘๔ / ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

๑. การปฏิบัติหน้าที่สอน

๑.๑ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๒ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๓ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๔ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๕ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

๑.๖ ปฏิบัติหน้าที่สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ



๑.๗ ปฏิบัติหน้าที่สอนชุมชุนคอมพิวเตอร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖

๑.๘ ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รายวิชาลูกเสือ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๒

๑.๙ ปฏิบัติหน้าที่สอนกิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑



รวมปฏิบัติหน้าที่การสอน ปีการศึกษา ๒๕๕๒ รวมจำนวน ๒๕ ชั่วโมง























๒. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

๒.๑ ครูที่ปรึกษาประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑

๒.๒ งานพัสดุโรงเรียน

๒.๓ งานฝ่ายวิชาการ

๒.๔ งานระบบดูแลนักเรียน

๒.๕ งานดูแลห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒.๖ งานดำเนินการตามแบบ ปพ.ต่าง ๆ

๒.๗ งานด้านการพัฒนาตนเอง

๒.๘ งานตามโครงการ

๒.๙ ปฏิบัติงานอื่น งานตามคำสั่ง งานพิเศษตามที่ได้รับมอบหมาย














วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สูตรลดความอ้วน

ลดน้ำหนัก 9 กก. ภายใน 1 สัปดาห์ ( หนังจาก 7 วัน ทานได้ตามปกติน้ำหนักไม่ขึ้น หากทำตามสูตรและทานน้ำเปล่าเยอะๆ ) ก่อนการเริ่มปฏิบัติสูตรนี้ ก่อนอ่าหารต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว งดน้ำตาล น้ำมันหมู และของทอดทุกชนิด



วันที่ เช้า กลางวัน เย็น


1. น้ำผลไม่คั้นหรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย ไข่ต้ม 2 ฟอง สลัดผัก


2. น้ำผลไม้คั้นหรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย ไข่ต้ม 2 ฟอง โยเกิร์ต 1 ถ้วย


3. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย หรือ โยเกิร์ต 1 ถ้วย เกาเหลาลูกชิ้นหมู 1 ชาม ( หมู เนื้อ ) สับปะรด 1 ชิ้น


4. น้ำผลไม้คั้นหรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาลและขนมปัง 1 แผ่น สลัดผักและไก่ย่าง 1 ชิ้น โยเกิร์ต 1 ถ้วย


5. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วยหรือน้ำผลไม้คั้น ส้มตำและไก่ย่าง 1 ชิ้น สลัดผัก


6. กาแฟไม่ใส่น้ำตาล 1 ถ้วย หรือน้ำผลไม้คั้น ปลานึ่งหรือปลาเผาไม่จำกัด ( กินแต่เนื้อปลาอย่างเดียว ) นมสด 1 แก้ว ( นมจืด )


7. ข้าว 1 ทัพพีและเนื้อ 1 ชิ้น หรือไข่ต้ม 1 ฟอง เกาเหลาลูกชิ้น 1 ชาม ( หมู เนื้อ ) สับปะรด 1 ชิ้น

แผน ม.1

การจัดการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 รหัส ง 21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1. คำอธิบายรายวิชา
2. โครงสร้างรายวิชา
3. หน่วยการเรียนรู้
4. แผนการจัดการเรียนรู้
5. ใบงาน

แผนจัดการเรียนรู้แบบ Backwards Design

การจัดการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 รหัส ง 21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1. คำอธิบายรายวิชา
2. โครงสร้างรายวิชา
3. หน่วยการเรียนรู้
4. แผนการจัดการเรียนรู้
5. ใบงาน











คำอธิบายรายวิชา
ชื่อรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 รหัสวิชา ง 21102 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
จำนวน 1.0 หน่วยกิต เวลา 40 ชั่วโมง
วิเคราะห์ และปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบในด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ และการสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต เพื่อให้มีทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน และมีคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อ

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ง3.1ม.1/1-3
ง4.1ม.1/1-3
รวม 6 ตัวชี้วัด







โครงสร้างรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2 รหัสวิชา ง 21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1จำนวน 1.0 หน่วยกิต เวลาเรียน 40 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
ลำดับที่
มาตรฐาน
การเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ
(สาระการเรียนรู้แกนกลาง)
หน่วยที่/ชื่อ หน่วยการเรียนรู้
เวลา(ชั่วโมง)
น้ำหนักคะแนน
1
ง3.1ม.1/1
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ ๕ หน่วยได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลและสังคมมากขึ้น
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์โดยใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่น แก้ปัญหา สร้างงาน สร้างความบันเทิง ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูล
1. การทำงานของคอมพิวเตอร์


2
ง3.1ม.1/2
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
- ช่วยให้การบริการกว้างขวางขึ้น
- ช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
- ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น
- คุณภาพชีวิต
- สังคม
- การเรียนการสอน
2. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


3
ง3.1ม.1/3
ข้อมูลและสารสนเทศ
- ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ
- การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ประเภทของข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การจัดการสารสนเทศ มีขั้นตอนดังนี้
- การรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล
- การประมวลผลข้อมูล ได้แก่ การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และการทำรายงาน
3. ข้อมูลและสารสนเทศ


4
ง4.1ม.1/1-3
แนวทางการเลือกอาชีพ
- กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
- การสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต
ความสำคัญของการสร้างอาชีพ
- การมีรายได้จากอาชีพที่สร้างขึ้น
- การเตรียมความพร้อม
4. การประกอบอาชีพ






40
100.00





หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ การทำงานของคอมพิวเตอร์ เรื่อง ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ เวลา ชั่วโมง
ผู้สอน นายธเนศ คูณทวี โรงเรียนโนนกลางวิทยาคม
-------------------------------------------------------------------
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง3.1ม.1/1
มาตรฐาน ง ๓. ๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
ตัวชี้วัด
๑. อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
สาระสำคัญ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ ๕ หน่วยได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก
คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลและสังคมมากขึ้น
คอมพิวเตอร์มีประโยชน์โดยใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่น แก้ปัญหา สร้างงาน สร้างความบันเทิง ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูล
ทักษะ
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
คุณลักษณะ
ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทนความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อ
ภาระงาน
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน
ผังการประเมิน
เป้าหมายการเรียนรู้

ตอบปากเปล่า
ข้อสอบอัตนัย
ตรวจบันทึก
ตรวจชิ้นงาน
จัดนิทรรศการ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติจริง
ตัวชี้วัด ๑. อธิบายหลักการทำงาน บทบาท และประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
/




/

เกณฑ์ให้คะแนน

รายการประเมิน
4
3
2
1
ความคิดรวบยอด
ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
ตอบคำถามได้ถูกต้องประมาณครึ่งหนึ่ง
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนน้อย
ทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานมากที่สุด
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มาก
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อย
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อยที่สุด
คุณลักษณะ

มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมากที่สุด
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมาก
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อย
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อยที่สุด

กระบวนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมนำสู่การเรียน
1. ขั้นวางแผน (Plan) (15 นาที)
1.1 ให้นักเรียนอภิปราย การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยวางแผนฝึกและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์
1.2 ให้นักเรียนวิเคราะห์ การทำงานของคอมพิวเตอร์
1.3 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มฝึกและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์
กิจกรรมพัฒนานักเรียน
2. ขั้นปฏิบัติ (Do) (15 นาที)
2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์ ตามแผนที่วางไว้
2.2 ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่บ้าน แล้วรายงานผลการทำงาน และให้ผู้ปกครองรายงานผลการทำงาน
3. ขั้นตรวจสอบ (Check) (15 นาที)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มประเมินผลงาน
3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการอภิปรายผลและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์


กิจกรรมรวบยอด
4. ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) (15 นาที)
4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้ดียิ่งขึ้น
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติการปฏิบัติการศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์ อีกครั้งหนึ่ง
4.3 ให้นักเรียนบันทึกหลังเรียน
4.4 ครูให้คะแนนทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน และคะแนนคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ จากเกณฑ์การให้คะแนน รายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน หากข้อมูลไม่เพียงพอใช้วิธีสัมภาษณ์เพิ่มเติม
การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล
1.1 ให้นักเรียนเขียนรายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน
1.2 ให้คะแนนทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน จากแบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน
1.3 ให้คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
2.1 แบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน
2.2 แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1 ทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

วัสดุอุปกรณ์
1. รูปภาพและศึกษาการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. คอมพิวเตอร์
สื่อและแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ห้องสมุด
3. ชุมชน













หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลา ชั่วโมงผู้สอน นายธเนศ คูณทวี โรงเรียนโนนกลางวิทยาคม
------------------------------
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง3.1ม.1/2
มาตรฐาน ง ๓. ๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
ตัวชี้วัด
๒. อภิปราย ลักษณะสำคัญ และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระสำคัญ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
- ช่วยให้การบริการกว้างขวางขึ้น
- ช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
- ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น
- คุณภาพชีวิต
- สังคม
- การเรียนการสอน

ทักษะ
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
คุณลักษณะ
ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น
ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อ

ภาระงาน
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน

ผังการประเมิน
เป้าหมายการเรียนรู้

ตอบปากเปล่า
ข้อสอบอัตนัย
ตรวจบันทึก
ตรวจชิ้นงาน
จัดนิทรรศการ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติจริง
ตัวชี้วัด ๒. อภิปราย ลักษณะสำคัญ และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
/

/




เกณฑ์ให้คะแนน

รายการประเมิน
4
3
2
1
ความคิดรวบยอด
ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
ตอบคำถามได้ถูกต้องประมาณครึ่งหนึ่ง
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนน้อย
ทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานมากที่สุด
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มาก
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อย
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อยที่สุด
คุณลักษณะ

มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมากที่สุด
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมาก
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อย
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อยที่สุด






กระบวนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมนำสู่การเรียน
1. ขั้นวางแผน (Plan) (15 นาที)
1.1 ให้นักเรียนอภิปราย ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยวางแผนฝึกและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2 ให้นักเรียนวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มฝึกและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมพัฒนานักเรียน
2. ขั้นปฏิบัติ (Do) (15 นาที)
2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามแผนที่วางไว้
2.2 ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่บ้าน แล้วรายงานผลการทำงาน และให้ผู้ปกครองรายงานผลการทำงาน
3. ขั้นตรวจสอบ (Check) (15 นาที)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มประเมินผลงาน
3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการอภิปรายผลและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมรวบยอด
4. ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) (15 นาที)
4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขและศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ดียิ่งขึ้น
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติการศึกษาลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกครั้งหนึ่ง
4.3 ให้นักเรียนบันทึกหลังเรียน
4.4 ครูให้คะแนนทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน และคะแนนคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ จากเกณฑ์การให้คะแนน รายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน หากข้อมูลไม่เพียงพอใช้วิธีสัมภาษณ์เพิ่มเติม
การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล
1.1 ให้นักเรียนเขียนรายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน
1.2 ให้คะแนนทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน จากแบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพ
งาน
1.3 ให้คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
2.1 แบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน
2.2 แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1 ทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
วัสดุอุปกรณ์
1. รูปภาพลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. คอมพิวเตอร์
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ห้องสมุด
3. ชุมชน
















หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา ชั่วโมง
ผู้สอน โรงเรียน
------------------------------
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง3.1ม.1/3
มาตรฐาน ง ๓. ๑ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
ตัวชี้วัด
๓. ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

สาระสำคัญ
ข้อมูลและสารสนเทศ
- ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ
- การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
ประเภทของข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูล
การจัดการสารสนเทศ มีขั้นตอนดังนี้
- การรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูล
- การประมวลผลข้อมูล ได้แก่ การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การจัดเรียงข้อมูล การคำนวณ และการทำรายงาน

ทักษะ
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
คุณลักษณะ
ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น
ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อ

ภาระงาน
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน

ผังการประเมิน
เป้าหมายการเรียนรู้

ตอบปากเปล่า
ข้อสอบอัตนัย
ตรวจบันทึก
ตรวจชิ้นงาน
จัดนิทรรศการ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติจริง
ตัวชี้วัด ๒. อภิปราย ลักษณะสำคัญ และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
/

/




เกณฑ์ให้คะแนน

รายการประเมิน
4
3
2
1
ความคิดรวบยอด
ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
ตอบคำถามได้ถูกต้องประมาณครึ่งหนึ่ง
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนน้อย
ทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานมากที่สุด
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มาก
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อย
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อยที่สุด
คุณลักษณะ

มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมากที่สุด
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมาก
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อย
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อยที่สุด






กระบวนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมนำสู่การเรียน
1. ขั้นวางแผน (Plan) (15 นาที)
1.1 ให้นักเรียนอภิปราย ข้อมูลและสารสนเทศ โดยวางแผนฝึกและศึกษาข้อมูลและสารสนเทศ
1.2 ให้นักเรียนวิเคราะห์ ข้อมูลและสารสนเทศ
1.3 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มฝึกประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ
กิจกรรมพัฒนานักเรียน
2. ขั้นปฏิบัติ (Do) (15 นาที)
2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ ตามแผนที่วางไว้
2.2 ให้นักเรียนทุกคนประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศที่บ้าน แล้วรายงานผลการทำงาน และให้ผู้ปกครองรายงานผลการทำงาน
3. ขั้นตรวจสอบ (Check) (15 นาที)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มประเมินผลงาน
3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการอภิปรายผลการประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ
กิจกรรมรวบยอด
4. ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) (15 นาที)
4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขการประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ ให้ดียิ่งขึ้น
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติการประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ อีกครั้งหนึ่ง
4.3 ให้นักเรียนบันทึกหลังเรียน
4.4 ครูให้คะแนนทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน และคะแนนคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ จากเกณฑ์การให้คะแนน รายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน หากข้อมูลไม่เพียงพอใช้วิธีสัมภาษณ์เพิ่มเติม
การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล
1.1 ให้นักเรียนเขียนรายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน
1.2 ให้คะแนนทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน จากแบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพ
งาน
1.3 ให้คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
2.1 แบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน
2.2 แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1 ทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
วัสดุอุปกรณ์
1. รูปภาพการประมวลผลข้อมูลและสารสนเทศ
2. คอมพิวเตอร์
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ห้องสมุด
3. ชุมชน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การประกอบอาชีพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลา ชั่วโมง
ผู้สอน โรงเรียน
------------------------------
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ง4.1ม.1/1-3
มาตรฐาน ง ๔. ๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยี
เพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด
๑. อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
๒. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
๓. เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ

สาระสำคัญ
แนวทางการเลือกอาชีพ
- กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
- การสร้างรายได้จากการประกอบอาชีพสุจริต
ความสำคัญของการสร้างอาชีพ
- การมีรายได้จากอาชีพที่สร้างขึ้น
- การเตรียมความพร้อม

ทักษะ
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
คุณลักษณะ
ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น
ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อ

ภาระงาน
การปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน

ผังการประเมิน
เป้าหมายการเรียนรู้

ตอบปากเปล่า
ข้อสอบอัตนัย
ตรวจบันทึก
ตรวจชิ้นงาน
จัดนิทรรศการ
สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติจริง
ตัวชี้วัด ๑. อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
/

/



ตัวชี้วัด ๒. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ





/
ตัวชี้วัด ๓. เห็นความสำคัญของการสร้างอาชีพ





/

เกณฑ์ให้คะแนน

รายการประเมิน
4
3
2
1
ความคิดรวบยอด
ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
ตอบคำถามได้ถูกต้องประมาณครึ่งหนึ่ง
ตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนน้อย
ทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน ด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานมากที่สุด
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางาน
มาก
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อย
มีความสามารถในการการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลงาน และการปรับปรุงพัฒนางานน้อยที่สุด
คุณลักษณะ

มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมากที่สุด
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อมาก
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อย
มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่น ความอดทน ความประณีต ความละเอียดรอบคอบ ความเสียสละ ความมีน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อน้อยที่สุด






กระบวนการจัดการเรียนรู้
กิจกรรมนำสู่การเรียน
1. ขั้นวางแผน (Plan) (15 นาที)
1.1 ให้นักเรียนอภิปราย การประกอบอาชีพ โดยวางแผนฝึกการประกอบอาชีพ
1.2 ให้นักเรียนวิเคราะห์ การประกอบอาชีพ
1.3 ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มฝึกการประกอบอาชีพ
กิจกรรมพัฒนานักเรียน
2. ขั้นปฏิบัติ (Do) (15 นาที)
2.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกการประกอบอาชีพ ตามแผนที่วางไว้
2.2 ให้นักเรียนทุกคนการประกอบอาชีพ แล้วรายงานผลการทำงานที่บ้าน และให้ผู้ปกครองรายงานผลการทำงาน
3. ขั้นตรวจสอบ (Check) (15 นาที)
3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มประเมินผลงาน
3.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มบันทึกผลการอภิปรายผลการประกอบอาชีพ
กิจกรรมรวบยอด
4. ขั้นปรับปรุงพัฒนา (Action) (15 นาที)
4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขการประกอบอาชีพ ให้ดียิ่งขึ้น
4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติการประกอบอาชีพ อีกครั้งหนึ่ง
4.3 ให้นักเรียนบันทึกหลังเรียน
4.4 ครูให้คะแนนทักษะการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน และคะแนนคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ จากเกณฑ์การให้คะแนน รายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน หากข้อมูลไม่เพียงพอใช้วิธีสัมภาษณ์เพิ่มเติม
การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัดและประเมินผล
1.1 ให้นักเรียนเขียนรายงานการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพงาน
1.2 ให้คะแนนทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน จากแบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพ
งาน
1.3 ให้คะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
2.1 แบบประเมินทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน
2.2 แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1 ทักษะการพัฒนาคุณภาพงาน ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
วัสดุอุปกรณ์
1. รูปภาพการประกอบอาชีพ
2. คอมพิวเตอร์
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. ห้องสมุด
3. ชุมชน